ระบบสารสนเทศด้านการวิจัย

          การดำเนินงานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการบริหารจัดการงานวิจัย ของสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย โดยจำแนกออกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
                  (1) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานวิจัย ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย (R-System Plus) ระบบค้นหางานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (e-Research) ระบบจัดการเนื้อหารายงานการวิจัย  (e-Template) ระบบการประเมินเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษา (e-Assessment) และระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (SDU Laboratory)

                  (2) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ ระบบตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ (โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์) โปรแกรมจัดการการอ้างอิงและบรรณานุกรม (EndNote X9) ระบบฐานข้อมูลวารสารวิชาการนานาชาติ (Scopus) และระบบบริหารจัดการบทความวิจัยและบทความวิชาการ (Scholar One) แสดงดังภาพ


          การบริหารจัดการงานวิจัยด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพันธกิจที่สถาบันวิจัยและพัฒนาให้ความสำคัญ และพัฒนาและปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ รวมถึงเพื่อการบริหารจัดการงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ซึ่งระบบบริหารจัดการงานวิจัยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินการออกแบบ พัฒนา และจัดหาเพื่อการบริการประกอบด้วย

                  1. ระบบานข้อมูลงานวิจัย (R-System Plus)
                              การพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัย (R-System Plus) เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาต่อยอดมาจากระบบฐานข้อมูลงานวิจัย (R-System) เดิมที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้การใช้งานครอบคลุมกระบวนการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การยื่นข้อเสนอโครงการฯ การติดตามสถานะการเบิกจ่ายและการให้บริการ ตลอดไปจนถึงสามารถพัฒนา Template เพื่อการจัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อปิดโครงการวิจัย แล้วสามารถนำส่งรายงานการวิจัยในระบบดังกล่าว ออกไปยังระบบค้นหางานวิจัยสำหรับการสืบค้นต่อไป นอกจากนี้ R-System Plus ยังสามารถรายงานข้อมูลด้านการวิจัยทั้งหมดไปยังผู้บริหารที่ล็อคอินเข้ามาใช้งานในระบบนี้ได้อีกด้วย โดย R-System Plus ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ (1) ระบบบริหารจัดการการวิจัย และ (2) ระบบแม่แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Template) ซึ่งเป็นระบบจัดการเนื้อหารายงานการวิจัยออกมาเป็นรูปแบบตามระเบียบของมหาวิทยาลัย โดยสามารถเข้าถึงระบบได้ทาง www.rsystem.dusit.ac.th

ภาพ ระบบบริหารจัดการการวิจัย (R-System Plus)



ภาพ ระบบแม่แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Template)


                  2. ระบบการประเมินเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษา (e-Assessment)

                              ระบบการประเมินเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษา (e-Assessment) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับเก็บรวบรวม ประมวลผล และนำเสนอผลการประเมินจากนักศึกษาทุกระดับชั้นปี ใน 2 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย ความพึงพอใจของนักศึกษาในการให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน โดยสามารถเข้าถึงระบบได้จาก www.eassessment.dusit.ac.th/





ภาพ การอบรมการใช้งานใช้งานระบบประเมินเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษา (e-Assessment)


                  3. ระบบค้นหางานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (e-Research)

                              ระบบค้นหางานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (e-Research) เป็นระบบสำหรับรวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ และดาวน์โหลดรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตสำหรับผู้สนใจงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในรูปของไฟล์ html และไฟล์ pdf สามารถเข้าถึงได้ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จาก www.eresearch.dusit.ac.th/



ภาพ ระบบ e-Research


                  4. ระบบตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ “โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์”

                              โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์เป็นระบบสารสนเทศสำหรับตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการ เช่น หนังสือ ตำรา งานวิจัย รวมถึงบทความต่าง ๆ โดยไม่ต้องชำระค่าบริการสำหรับผู้ใช้อีเมลภายในของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ลงท้ายด้วย @dusit.ac.th เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้ทำการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถเข้าใช้งานได้จนกระทั่งถึงปลายปี 2565 ทางเว็บไซต์ www.plag.grad.chula.ac.th/


ภาพ โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์


                  5. โปรแกรมจัดการการอ้างอิงและบรรณานุกรม “EndNote X9”

                              โปรแกรมจัดการการอ้างอิงและบรรณานุกรม “EndNote X9”เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการการอ้างอิงและบรรณานุกรม เช่น การสืบค้น การจัดเก็บ การจัดการรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรม หรือรายการอ้างอิงที่ผู้ใช้ได้ไปสืบค้นมาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น จากฐานข้อมูลออนไลน์ หรือจากฐานข้อมูลของห้องสมุด เป็นต้น โปรแกรม EndNote สามารถที่จะทำการนำเข้า (Import) รายการอ้างอิงเหล่านั้นมาไว้ฐานข้อมูลของ EndNote ได้โดยตรง เพื่อนำมาจัดการในส่วนของรายการบรรณานุกรม หรือรายการอ้างอิงในตัวเล่มรายงานการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป สามารถดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งและใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ที่ www.arit.dusit.ac.th/endnote/regis_download.php


ภาพ โปรแกรม EndNote X9


                  6. ระบบานข้อมูลวารสารวิชาการนานาชาติ “SCOPUS”

                              SCOPUS เป็นฐานข้อมูลวารสารวิชาการนานาชาติที่ครอบคลุมเนื้อหาทุกสาขาวิชาซึ่งโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิตจัดหามาให้บุคลากรใช้งานเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาและการวิจัย SCOPUS ซึ่งสามารถใช้งานโดยการสืบค้น เรียกดู และดาวน์โหลดไฟล์บทความวิจัยหรือบทความวิชาการแบบ Full-text หรือบทคัดย่อได้ ทั้งนี้ สามารถเข้าถึงได้จาก www.scopus.com


ภาพ ระบบฐานข้อมูลวารสารวิชาการนานาชาติ SCOPUS



                  7. โปรแกรมบริหารจัดการบทความวิจัยและบทความวิชาการ “Scholar One”

                              โปรแกรมบริหารจัดการบทความวิจัยและบทความวิชาการ “Scholar One” เป็นโปรแกรมและฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับการบริหารจัดการบทความวิจัยและบทความวิชาการของวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลนานาชาติ เช่น Scopus และ Web of Science เป็นต้น โปรแกรมดังกล่าวใช้เพื่อบริหารจัดการบทความวิจัย นับตั้งแต่ขั้นตอนการยื่นบทความเพื่อตีพิมพ์ การตรวจสอบจากกองบรรณาธิการ การส่งบทความไปยังผู้ทรง การพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิชาวไทยและชาวต่างชาติ การบันทึกการแก้ไข การโต้ตอบระหว่างผู้เขียน กองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งการจัดเก็บและการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการบทความ โดยการนำโปรแกรมดังกล่าวมาใช้ในการบริหารจัดการวารสารของมหาวิทยาลัยเป็นการเตรียมพร้อมของวารสารสำหรับการเข้าสู่ฐานข้อมูลวารสารระดับนาชาติในอนาคต



ภาพ โปรแกรมบริหารจัดการบทความวิจัยและบทความวิชาการ Scholar One
 


                  8. ระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ “SDU Laboratory”

                              ระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ “SDU Laboratory” เป็นระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะพยาบาลศาสตร์ และโรงเรียนการเรือน ระบบดังกล่าวประกอบด้วย การจัดเก็บข้อมูล การขอใช้ห้องปฏิบัติการ การยืมอุปกรณ์ และการคืน รวมถึงรายงานผลในประเด็นต่าง ๆ สำหรับการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมการบริหารจัดการทุกศูนย์การศึกษาและวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สามารถเข้าถึงได้จาก www.sdulab.dusit.ac.th


ภาพ ระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ SDU Laboratory
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้